ฟิล์มกระจกและฟิล์มกันรอยแต่ละแบบต่างกันอย่างไร??

ฟิล์มกระจกและฟิล์มกันรอยแต่ละแบบต่างกันอย่างไร??

วิธีติดฟิล์มกระจกด้วยตัวเอง ง่าย ๆ ในไม่กี่ขั้นตอน

แนะนำวิธีติดฟิล์มกระจกด้วยตัวเอง สำหรับผู้ใช้มือถือที่ต้องการติดฟิล์มกระจกนิรภัย เพื่อป้องกันหน้าจอมือถือจากทั้งรอยขีดข่วนและป้องกันหน้าจอแตก

ฟิล์มกันรอยมือถือนั้นจัดว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่คนใช้มือถือแทบจะทุกคนมักติดทันทีตั้งแต่ซื้อ โทรศัพท์ มือถือมา เพื่อป้องกันไม่ให้หน้าจอเกิดริ้วรอยขีดข่วนต่าง ๆ แต่ปัจจุบันก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่นิยมติดเป็นแบบฟิล์มกระจก เพราะนอกจากจะกันรอยขีดข่วนแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันหน้าจอแตกจากการทำตกกระแทกได้อีกด้วย วันนี้เราก็เลยจะมาสอนวิธีติดฟิล์มกระจกด้วยตัวเองอย่างง่าย ๆ กัน จะต้องทำยังไงบ้าง ไปดูกันเลย

แกะฟิล์มกระจกออกมาจากแพ็กเกจ เช็กว่ามีอะไรให้มาบ้าง ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ควรมีก็คือผ้าไมโครไฟเบอร์และสติ๊กเกอร์หรือเทปใส ถ้าไม่มีมาให้ก็ควรหาเตรียมไว้เอง และควรเตรียมพื้นที่ว่างบนโต๊ะ ควรเป็นโต๊ะที่สะอาดไร้ฝุ่น หลังจากนั้นก็ปิดเครื่องมือถือพร้อมทั้งถอดเคสออกก่อนจะเริ่มขั้นตอนต่อไป

ให้ลองนำฟิล์มกระจกมาทาบลงบนหน้าจอดูก่อน ว่าซื้อมาตรงรุ่นไหม พอดีกับหน้าจอหรือไม่ ซึ่งสามารถวางลงบนหน้าจอได้เลย ไม่ต้องกลัวว่าฟิล์มจะติดกับจอ เพราะว่ามันจะมีแผ่นพลาสติกเคลือบฟิล์มด้านที่เป็นกาวเอาไว้อยู่

ถ้าหน้าจอได้ติดฟิล์มอันเก่าเอาไว้ก่อนหน้านี้ ก็ให้แกะฟิล์มเก่าออกเสียก่อน เมื่อแกะฟิล์มออกแล้วก็ให้ใช้ผ้าไม่มีขนอย่างผ้าไมโครไฟเบอร์เช็ดหน้าจอให้สะอาด อย่าให้เหลือเศษผงหรือฝุ่นบนหน้าจอ ซึ่งฟิล์มกระจกบางยี่ห้ออาจจะมีสติ๊กเกอร์สำหรับแปะเก็บฝุ่นผงบนหน้าจอมาให้ด้วย หรือถ้าหากไม่มีก็สามารถใช้เทปใสแทนได้

หยิบฟิล์มกระจกมาแล้วลอกแผ่นพลาสติกที่เคลือบไว้ออก ซึ่งด้านที่ลอกออกจะมีความเหนียวจากกาว โดยแนะนำให้ใช้มือจับที่ขอบฟิล์มกระจกเพื่อไม่ให้เป็นรอยนิ้วมือ จากนั้นให้ใช้ด้านที่มีกาวทาบลงบนจอมือถือ เล็งบริเวณขอบทุกด้านให้ตรง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นช่องเลนส์กล้องและลำโพง จากนั้นให้วางแปะลงไปบนหน้าจอแล้วค่อย ๆ รูดตามแนวตั้ง ตั้งแต่หัวจรดปลาย แต่ถ้าหากวางลงไปแล้วเบี้ยวหรือไม่ตรง ก็ให้ยกขึ้นมาแล้วเล็งวางใหม่

หลังจากแปะฟิล์มกระจกลงบนหน้าจอแล้ว ให้เช็กดูว่าฟิล์มติดเรียบร้อยดีไหม มีลมอยู่ใต้ฟิล์มหรือไม่ ถ้ามีลมค้างอยู่ก็ให้ใช้ผ้ารูดจากบริเวณที่มีลมไล่ออกมาทางขอบจอที่ใกล้ที่สุด ทำจนกว่าจะไม่เหลือลมแล้ว ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากไม่มั่นใจว่าจะสามารถติดฟิล์มกระจกได้เองหรือว่ามือไม่นิ่ง กลัวติดเบี้ยว ทำฟิล์มเสีย ก็สามารถให้คนอื่นที่มีประสบการณ์ในการติดฟิล์มกระจก หรือจะให้ร้านติดให้ก็ได้เช่นกัน

เทคนิคเลือกฟิล์มติดอาคาร 4 ชนิด เลือกอย่างไร? | FILMTASTIC

ฟิล์มดำ เป็นฟิล์มกรองแสงที่เคลือบด้วยสารต่างๆ ที่ทำให้ฟิล์มกรองแสงอาคารนั้นมีความเข้ม มีตั้งแต่เกรดธรรมดา คือใช้การเคลือบโดยการย้อมสีดำ ไปจนถึงฟิล์มเกรดพรีเมียม คือ ฟิล์มที่เคลือบด้วย เทคโนโลยีนาโนเซรามิค หรือที่เราเรียกว่าฟิล์มเซรามิค นั่นเอง

ฟิล์มติดอาคารดำ มีให้เลือกหลากหลายความเข้ม ซึ่งทั่วไปก็จะมีความเข้มตั้งแต่ 40 50 60 70 80 ครับ ซึ่งฟิล์มกรองแสงยิ่งเข้มก็จะยิ่งกันความร้อนได้ดี เพราะแสงผ่านเข้ามาน้อย แต่ก็จะทำให้ทัศนวิสัยมืดลงด้วยเช่นกัน สะท้อนแสงน้อย จึงสามารถติดได้ทั้งบ้าน อาคาร คอนโด

สำหรับคนที่ต้องการติดฟิล์มติดอาคารแบบมืด แต่มองออกไปจากข้างในไม่มืดมาก ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก็จะมี "ฟิล์มเซรามิค" ซึ่งตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีครับ จะมีคุณสมบัติ ฟิล์มดำนอกสว่างใน อย่างที่หลายๆคนต้องการ

ถ้าจะติดฟิล์มดำ ต้องเลือกฟิล์มดำเกรดที่เคลือบสารกันร้อนสูงเท่านั้น ไม่แนะนำให้เลือกติดฟิล์มดำย้อมสี เพราะ จะกันร้อน กันUV ได้ไม่ดี และสีจะซีดไวอีกด้วย ซึ่งการติดฟิล์มดำเซรามิคราคาก็จะค่อนข้างสูงด้วยเช่นเดียวกัน แต่ก็มาพร้อมกับคุณภาพคุ้มค่าราคา

แนะนำติดฟิล์มอาคารเซรามิคอาคาร ยี่ห้อขายดีของทางร้าน คือ ฟิล์มเซรามิคยี่ห้อ3M และ ฟิล์มเซรามิค HeatGard เป็นฟิล์มเซรามิคดำที่กันความร้อนได้สูงกว่า 80% รับประกันนานกว่า 7 ปี และยังราคาถูก ติดไปส่วนมากลูกค้าชอบแทบทุกราย

• None ติดคอนโด ที่ต้องการลดแสงจ้า เพราะฟิล์มดำ สามารตัดแสงได้ดี แถมยังมีหลายความเข้มให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นฟิล์ม 40/60/80 ตอบโจทย์ได้หลากหลาย แถมยังไม่ผิดกฏคอนโดเรื่องฟิล์มสะท้อนแสงอีกด้วย

• None คอนโด ที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เนื่องจากโดนแสงแดดช่วงบ่ายตลอดทั้งวัน ทำให้ต้องการลดความร้อนสูง ซึ่งความเข้ม 80 จะเป็นที่นิยมมาก

ฟิล์มกระจกและฟิล์มกันรอยแต่ละแบบต่างกันอย่างไร??

สมาร์ทโฟนหน้าจอสัมผัสรับบทหนักรองรับการใช้งานในแต่ละวัน การติดฟิล์มกันรอยเป็นวิธีการดูแลรักษาโทรศัพท์อย่างง่าย ๆ เพื่อให้ใช้งานได้นาน หน้าจอมือถือในปัจจุบันเป็นกระจกที่แข็ง แต่เกิดรอยได้จากฝุ่นเม็ดเล็กที่ติดมากับนิ้ว เมื่อสัมผัสกับหน้าจอทำให้เกิดรอยขีดข่วนเส้นใหญ่หรือรอยขนแมวเส้นเล็กเต็มไปหมด ทำให้หน้าจอไม่ชัดเหมือนเดิม ฟิล์มกันรอยมีทั้งพลาสติกเนื้อบางหลายแบบไปจนถึง ฟิล์มกระจก เป็นฟิล์มกันรอยนิรภัยที่มีความแข็งแรงทนทานต่อการกระแทก ป้องกันหน้าจอแตกร้าวจากการตกหล่น รองรับการขีดข่วนป้องกันการเป็นรอยได้ดีกว่าฟิล์มกันรอยทั่วไป และมีอายุการใช้งานนานกว่าปกติด้วย

1. แผ่นฟิล์มชนิดใส ป้องกันรอยขีดข่วนบนหน้าจอด้วยการเคลือบฟิล์มแข็งบาง (Hard Coating) เนื้อฟิล์มติดง่าย เรียบสนิทไปกับหน้าจอ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดรอยบนแผ่นฟิล์ม หน้าจอคมชัดสีสวยงามเหมือนต้นฉบับ ถือเป็นฟิล์มชนิดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน แผ่นฟิล์มมีความใสและบางเป็นพิเศษและยึดติดหน้าจอด้วยระบบสุญญากาศทำให้ไม่มีคราบกาวเมื่อลอกออก

โดยปกติหน้าจอสมาร์ทโฟนจะแผ่รังสี UV ออกมาขณะใช้งาน ซึ่งเป็นอันตรายต่อดวงตาของผู้ใช้ ถ้าต้องเพ่งมองหน้าจอเป็นเวลานานจะทำให้รู้สึกปวดตาหรือแสบตา อาจทำลายสายตาให้เสื่อมสภาพลงไปเรื่อย ๆ และเกิดปัญหาในระยะยาว นอกจากนี้แผ่นฟิล์มกันรอยยังมีคุณสมบัติในการช่วยกรองรังสี UV จากหน้าจอ จึงช่วยถนอมและป้องกันสายตาอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดี : ไม่ลดคุณภาพความคมชัดและสีสันบนหน้าจอ บางยี่ห้อใช้แผ่นฟิล์มที่แข็งและหนากว่าแบบอื่น แต่แผ่นฟิล์มชนิดใสที่มีคุณภาพดีในปัจจุบันจะใสและบางเป็นพิเศษ การติดฟิล์มชนิดนี้บนหน้าจอไม่ทำให้การแสดงผลเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ภาพบนหน้าจอยังคงสดใส คมชัด สามารถใช้งานระบบจอสัมผัสได้ตามปกติ

2. แผ่นฟิล์มขุ่นหรือฟิล์มด้าน ป้องกันการเกิดรอยนิ้วมือและคราบมันบนเนื้อฟิล์มที่น่ารำคาญตา ทำให้สามารถมองเห็นและใช้งานหน้าจอได้ตามปกติ ลดการสะท้อนแสงสว่างที่มาตกกระทบหน้าจอได้ดี ใช้งานกลางแจ้งสะดวกกว่าหน้าจอธรรมดามาก เห็นหน้าจอชัดเจน ช่วยลดปัญหาความมืดและพร่ามัว นิยมเคลือบสารป้องกันไม่ให้เกิดรอยที่แผ่นฟิล์ม มีคุณสมบัติที่ทนต่อการขูดขีดสูง ทั้งยังช่วยถนอมสายตาอีกด้วย

ข้อเสีย : ถ้าฟิล์มคุณภาพไม่ดี จะลดคุณภาพหน้าจอ เห็นอาการผิดปกติของเม็ดสีบนหน้าจอแสดงผลเป็นรัศมีกระจายสีรุ้ง

ข้อดี : แผ่นฟิล์มแบบกระจกมีหลายแบบ การเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับคุณสมบัติที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ฟิล์มกระจกที่มีคุณสมบัติสะท้อนเหมือนกระจกเงาเวลาปิดหน้าจออยู่ในโหมด Stand by

ข้อเสีย : ราคาค่อนข้างแพงกว่าฟิล์มกันรอยปกติ สำหรับสารเคลือบต่าง ๆ เช่น สารกันแสงสะท้อนอาจมีคุณสมบัติบางอย่างเสื่อมสภาพเมื่อใช้งานไปนาน ๆ

- ฟิล์มกระจก (Mirror Film) เป็นเนื้อฟิล์มชนิดหนึ่งที่มีสารเคลือบพิเศษทำให้เห็นเงาบนแผ่นฟิล์มได้ อย่างชัดเจนเหมือนกระจกเงา เมื่อหน้าจออยู่ในโหมด Stand by แต่ในโหมดการใช้งานจะใช้หน้าจอสัมผัสได้ตามปกติ เนื้อฟิล์มติดง่ายและได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ถือเป็นอุปกรณ์ตกแต่งให้หน้าจอดูแปลกใหม่ เด่นสะดุดตาไม่ซ้ำแบบใคร นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติพิเศษในเรื่องความทนทานต่อการขูดขีด ป้องกันรอยขีดข่วนเป็นรอยบนแผ่นฟิล์ม ทำให้หน้าจอสวยงามและคมชัดดังเดิม ทั้งยังกรองรังสี UVจากหน้าจอ ช่วยถนอมและป้องกันสายตาจากรังสี UV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- ฟิล์มบางพิเศษ Hi-Definition ช่วยป้องกันรอยนิ้วมือและคราบมันบนเนื้อฟิล์ม ซึ่งเกิดจากการใช้นิ้วมือสัมผัสกับหน้าจอโดยตรง ทำให้การแสดงผลของหน้าจอยังคงคมชัด ลดปัญหาความพร่ามัวของหน้าจอ โดยเฉพาะระบบจอสัมผัสยังคงใช้งานได้ตามปกติ พร้อมกันนี้ยังเคลือบสารกันแสงสะท้อนบนเนื้อฟิล์ม มีคุณสมบัติทนต่อการขูดขีดสูง ป้องกันการเกิดรอยบนแผ่นฟิล์ม ทำให้หน้าจอยังคงสวยงาม มองเห็นหน้าจอชัดเจนและใช้งานได้ตามปกติ บางชนิดกรองรังสี UV จากหน้าจอและลดแสงสะท้อนได้ดีในที่มีแสงสว่างมาก ลดอาการระยิบระยับของหน้าจอลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ภาพคมชัดขึ้น ลดอาการปวดตาเมื่อต้องมองที่หน้าจอเป็นเวลานาน ๆ และช่วยถนอมสายตาในระยะยาวอีกด้วย

- ฟิล์มกระจก แบบนิรภัย การติดกระจกนิรภัยลงบนสมาร์ทโฟนแทนการใช้ฟิล์มแบบธรรมดา มีคุณสมบัติเด่นหลายประการ ทั้งช่วยป้องกันการกระแทกหน้าจอทำให้โทรศัพท์แตกเสียหาย ป้องกันรอยขีดข่วนได้ระดับสูง ลดรอยนิ้วมือ คราบมัน และคราบต่าง ๆ เมื่อหยดน้ำลงไป แล้วเช็ดออกจะไม่เป็นคราบน้ำเหมือนฟิล์มกันรอยทั่วไป การใช้งานมีคุณภาพดีแตกต่างจากฟิล์มธรรมดา แน่นอนว่าเรื่องราคาของฟิล์มกระจกมีราคาสูงกว่าฟิล์มธรรมดามาก แต่ถ้ามีงบประมาณมากพอ การป้องกันระดับสูงจะช่วยประหยัดค่าซ่อมกรณีหน้าจอแตกราวกันได้หลายพันบาทเลยทีเดียว

หลายคนอาจไม่ทราบว่า หลังจากติดกระจกนิรภัยแล้ว หน้าจอสัมผัสจะยังลื่นมือ เหมือนกับการกดจากจอโทรศัพท์โดยตรงหรือไม่ ความคมชัด สีสัน และมุมมองหน้าจอจะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ เมื่อติดฟิล์มกระจกลงไปแล้ว การสัมผัสหน้าจอทัชสกรีนนั้นยังใช้งานได้อย่างสะดวกและราบรื่นเช่นเดิม หน้าจอยังตอบสนองได้ตามปกติไม่ว่าจะสัมผัสบริเวณไหนของหน้าจอ เหมือนไม่ได้ติดฟิล์มกันรอย มองเห็นหน้าจอได้คมชัดและสีสันของหน้าจอสมจริงเหมือนต้นฉบับ ขั้นตอนการติดฟิล์มกระจกก็ง่าย ไม่ทำให้เกิดฟองอากาศในขณะที่ติดฟิล์มกันรอยอีกด้วย

การติด ฟิล์มกระจก แบบนิรภัยไม่ได้รับความนิยมมากเท่าแผ่นฟิล์มธรรมดา โดยคนทั่วไปเห็นว่ายังเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจำเป็นนัก เพราะนอกจากจะมีราคาสูงแล้ว โอกาสทำเครื่องตกและจอแตกก็มีอยู่ แต่บางคนเห็นว่าการติดฟิล์มกระจกนิรภัยเป็นการลงทุนที่คุ้มกว่า โดยเพิ่มราคาอีกเล็กน้อยก็จะยิ่งทนต่อการขีดข่วน เมื่อใช้ปากกา กุญแจ เล็บมือ หรือเหรียญขูดไปบนหน้าจอจะไม่ทำให้เกิดรอยขนแมวหรือรอยข่วนลึก ทนทานต่อแรงกระแทกหนักทำให้หน้าจอมีโอกาสแตกน้อยลงเมื่อโดนกระแทกหรือมีการตกหล่น ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนไป การเลือกใช้เคสคุณภาพดีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมกัน

4. แผ่นฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วนชนิดป้องกันคนแอบมอง (Privacy Filter) เป็นแผ่นฟิล์มสีดำโปร่งใสสำหรับโทรศัพท์มือถือ ตลอดจนแล็ปท็อป โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต และอุปกรณ์พกพาอื่น ๆ เมื่อติดฟิล์มแล้วจะมองเห็นภาพบนหน้าจอได้เฉพาะผู้ที่อยู่ด้านหน้าของจอเท่านั้น ถ้ามองจากด้านข้างจะเห็นเพียงหน้าจอสีดำ ไม่สามารถเห็นข้อความหรือรูปภาพบนหน้าจอ ช่วยปกป้องหน้าจอจากสายตาคนรอบข้าง เพราะข้อมูลบางอย่างสำคัญหรือเป็นความลับ ทำให้ใช้งานในที่สาธารณะได้อย่างปลอดภัย เช่น นักธุรกิจหรือผู้ที่ทำธุรกรรม i-banking ไม่ต้องการให้คนแอบมองหน้าจอคุณได้อย่างง่ายดาย บุคคลทั่วไปที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ไม่ว่าจะทำงาน ค้นข้อมูล หรือดูรูปถ่ายส่วนตัว ตามจุดที่มีคนพลุกพล่านอย่างร้านกาแฟหรือบนเครื่องบิน

นอกจากนี้ฟิล์มยังปรับลดความสว่างของหน้าจอลง การแสดงผลคมชัดไม่แตกต่างจากหน้าจอปกติ สามารถป้องกันรอยขีดข่วน ยังคงใช้ปากกาสไตลัสและใช้มือสัมผัสหน้าจอโดยตรงได้เหมือนเดิม แผ่นฟิล์มยังช่วยกรองรังสี UV จากหน้าจอ จึงช่วยถนอมและป้องกันสายตาจากรังสี UV ได้อย่างปลอดภัย

ข้อดี : เพิ่มความเป็นส่วนตัว ป้องกันการมองเห็นหน้าจอจากสายตาของคนรอบข้าง ไม่เกิดรอยนิ้วมือและคราบมันบนเนื้อฟิล์ม

สำหรับการหาซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ผู้บริโภคทั่วไปอาจสั่งซื้อจากบริการ Dropship ผ่านทางเว็บไซต์ โดยจะมีคนกลางเป็นคนจัดหาสินค้าให้ตามที่ต้องการ สะดวกกันทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ต้องพิจารณาเลือกร้านค้าที่ไว้ใจได้และสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับฟิล์มกันรอยชนิดต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับโทรศัพท์มือถือของเรามากที่สุด

Comments

Post Comments